วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

2. Creative Chapter 3 on mind mapping style

 

 

  1.Choose between Activity 1or2 pages 68 and explain it into your blogger

 

  กิจกรรม:ให้นักเรียนกำหนดปัญญาในชีวิตประจำวันมา 1 ปัญหา แล้วเขียนอธิบายการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการใช้ข้อความหรือคำบรรยาย

ตอบ        การเตรียมตัวไปโรงเรียน

              รายละเอียดของปัญหา: การเตรียมตัวไปโรงเรียน

              การวิเคราะห์: ขั้นตอนการเตรียมตัวไปโรงเรียน

              การออกแบบขั้นตอนวิธี: 1.นาฬิกาปลุกดัง

                                              2.ตรวจสอบว่าเป็นวันเปิดเทอมหรือไม่

                                                          -ถ้าไม่ใช่วันเปิดเรียน ให้นอนหลับต่อ

                                                          -ถ้าใช่วันเปิดเรียน ให้ลุกขึ้นมา อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหารเช้า 

                                              3.ตรวจสอบว่ามีฝนตกหรือไม่ก่อนออกจากบ้าน

                                                          -ถ้าตกให้พกร่มไปโรงเรียน แล้วทำตามข้อ 4.

                                                          -ถ้าไม่ตกให้ทำตามข้อ 4.

                                              4.ออกไปโรงเรียน

5.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้รหัสจำลอง พร้อม 1 ตัวอย่าง

                   เป็นรหัสคำสั่งที่ใช้เขียนเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อ รหัสจำลองจะใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง   

                 

4.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้สัญลักษณ์ พร้อม 1 ตัวอย่าง

           เครื่องหมายรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้สำหรับสื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (The American National Standard Institute, ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐานแล้ว สามารถนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด รูปแบบและความหมายที่ควรทราบตามตารางต่อไปนี้   

ตัวอย่าง 





       






3.การถ่ายถอดความคิดโดยการแก้ปัญหาในการเขียนบรรยาย พร้อม 1 ตัวอย่าง
 
                 เป็นการถ่ายทอดความคิดโดยการเขียนคำบรรยายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงการทำงานของการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอน ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ
 
 Example  จงเขียนผังงานสำหรับอ่านข้อมูลซึ่งประกอบด้วย เลขประจำตัว ชื่อ อายุ และความสูงของนักเรียนหนึ่งคน แล้วพิมพ์ทางจอภาพ 
รายละเอียดของปัญหา   : พิมพ์เลขประจำตัว ชื่อ อายุ และความสูงของนักเรียน
การวิเคราะห์                   : ขั้นตอนการ พิมพ์เลขประจำตัว ชื่อ อายุ และความสูงของนักเรียน
การออกแบบขั้นตอนวิธี :  (1)   ข้อมูลออก    คือเลขประจำตัว ชื่อ อายุ และความสูงของนักเรียน
                                   (2)   ข้อมูลเข้า  ได้แก่ เลขประจำตัว แทนด้วย id
                                                                   ชื่อ แทนด้วย name
                                                                   อายุ แทนด้วย age
                                                                   ความสูง แทนด้วย height                          (3)   วิธีการประมวลผล   ดังนี้ 

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

2.การออกแบบขั้นตอนวิธี จากมุมเทคโนโลยี

                                              การออกแบบขั้นตอนวิธี
ก่อนจะออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาด้วยระบบการเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรรู้จักความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ และความสามารถของคอมพิวเตอร์ตามลำดับก่อน-หลังดังนี้
 
 ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1.การกำหนดค่าเริ่มต้น คือ การกำหนดค่าให้กับตัวแปรบางชนิด
2.การรับข้อมูล คือ การปรับตัวเข้ามาซึ่งตัวแปรได้จากการวิเคราะห์โจทย์
3.การคำนวณ คือ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการคำนวณตามลำดับก่อน-หลัง
 4.การแสดงข้อมูล คือ การแสดงค่า ซึ่งจะทำหลังจากการรับข้อมูลและคำนวณ โดยตัวแปรที่จะแสดงค่า คือ ตัวแปรที่โจทย์ต้องการผลลัพธ์

5.การเปรียบเทียบหรือการเลือก เป็นการเลือกทิศทางการทำงาน โดยมีเงื่อนไขในการเปรียบเทียบที่ชัดเจน



 


6.การเปรียบเทียบเชิงตรรกะ














วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

1. ขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยนำเสนอในรูปแบบแผนผังความคิดและอธิบายรายละเอียด




                                 


1.) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา(state the problem)

              ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหาแต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้

             1.1)การระบุข้อมูลเข้า

                            ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา

             1.2)การระบุข้อมูลออก 

                            ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ

             1.3)การกำหนดวิธีประมวลผล

                             ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก  

2.)  การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา

               ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหาอีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า “ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหาหลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้วผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด

3.) การดำเนินการแก้ปัญหา 

            เป็นขั้นตอนการใช้โปรแกรมประยุกต์หรือเขียนโปรแกรมขึ้นเองโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์  ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะในการใช้โปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์นั้นๆ  ขั้นตอนนี้สามารถจะสำเร็จได้รวดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ในขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาควรคำนึงถึงความยืดหยุ่นของโปรแกรมที่ได้ออกแบบขึ้นด้วย  เพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต 

4.)การตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ

             ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการแก้ปัญหารวมทั้งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นให้ผลลัพธ์ถูกต้อง  โดยต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหาซึ่งได้แก่  ข้อมูลเข้า และข้อมูลออกที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังสามารถรองรับข้อมูลเข้าอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันได้