วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

1. ขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยนำเสนอในรูปแบบแผนผังความคิดและอธิบายรายละเอียด




                                 


1.) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา(state the problem)

              ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหาแต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้

             1.1)การระบุข้อมูลเข้า

                            ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา

             1.2)การระบุข้อมูลออก 

                            ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ

             1.3)การกำหนดวิธีประมวลผล

                             ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก  

2.)  การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา

               ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหาอีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า “ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหาหลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้วผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด

3.) การดำเนินการแก้ปัญหา 

            เป็นขั้นตอนการใช้โปรแกรมประยุกต์หรือเขียนโปรแกรมขึ้นเองโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์  ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะในการใช้โปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์นั้นๆ  ขั้นตอนนี้สามารถจะสำเร็จได้รวดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ในขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาควรคำนึงถึงความยืดหยุ่นของโปรแกรมที่ได้ออกแบบขึ้นด้วย  เพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต 

4.)การตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ

             ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการแก้ปัญหารวมทั้งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นให้ผลลัพธ์ถูกต้อง  โดยต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหาซึ่งได้แก่  ข้อมูลเข้า และข้อมูลออกที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังสามารถรองรับข้อมูลเข้าอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น